ทำไมต้องซื้อ พ.ร.บ. ก่อนต่อภาษีรถทุกครั้ง?

 ทำไมต้องซื้อ พ.ร.บ. ก่อนต่อภาษีรถทุกครั้ง?

แอปหวยออนไลน์ มั่นคง จ่ายจริง จ่ายชัวร์ ต้อง DINGDONG หวยออนไลน์ สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ผ่าน Google Play Store

คุณผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีแต่ละครั้ง จำเป็นต้องซื้อ พ.ร.บ. ก่อนจึงจะชำระภาษีได้? บทความนี้จะพาไปหาคำตอบกัน

กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องจัดทำประกันภัย พ.ร.บ.

     ประกันภัยรถยนต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ประกันภัยภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance) และประกันภัยภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance) โดยประกันภัยภาคสมัครใจเป็นการตกลงกันระหว่างผู้เอาประกันภัย และบริษัทประกันภัย เลือกซื้อตามความพึงพอใจของเจ้าของรถ จัดทำประกันภัยด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย ซึ่งก็คือประกันชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 2+, ชั้น 3, ชั้น 3+ และอื่นๆ ที่ผู้ใช้รถคุ้นเคยดี

     ส่วนประกันภัยภาคบังคับ เป็นประกันภัยรถยนต์ที่กำหนดให้ผู้ครอบครองรถทุกคัน มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ หากเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถไม่ทำประกันภัยตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนด จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

     จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถทุกคนที่จะต้องจัดทำ พ.ร.บ. ก่อนการชำระภาษีรถยนต์ประจำปีทุกครั้ง

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ปี 2566 จ่ายเงินกี่บาท?

     อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์โดยสารส่วนบุคคลเป็นแบบคงที่ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (ราคาทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

     รถยนต์โดยสาร

  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาทต่อปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาทต่อปี

     รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาทต่อปี

 

395858พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงถึงว่าบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุดังกล่าวจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกแต่อย่างใด ซึ่งมีรายละเอียดความคุ้มครอง ดังนี้

     1. วงเงินค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

  • ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000 บาทต่อคน
  • การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาทต่อคน

     2. วงเงินค่าเสียหายที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด (ฝ่ายผิด))

  • ค่ารักษาพยาบาลจากอาการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร / ทุพพลภาพสิ้นเชิง 200,000 - 500,000 บาทต่อคน
  • การเสียชีวิต 500,000 บาทต่อคน
  • ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน

     ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถต่อ พ.ร.บ. พร้อมกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ โดยกำหนดให้รถทุกคันสามารถต่อภาษีประจำปีล่วงหน้าได้สูงสุด 90 วัน หรือ 3 เดือน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

5 สิ่งห้ามทำเด็ดขาดเมื่อรถจอดเสียบนทางด่วน

ล้างรถเองห้ามทำ 4 สิ่งนี้เด็ดขาด จะหาว่าไม่เตือน!

ดื่มน้ำขวดในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแดด เสี่ยงเป็นมะเร็งจริงไหม?